วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

ประเพณีวัฒนธรรม

 

การกวนข้าวอาซูรอ(ขนมอาซูรอ)




รูปภาพ : พี่น้องมุสลิม 3 จชต.ร่วมต้อนรับฮิจเราะห์ 1440 เพื่อรำลึกถึงนบีนุฮ(อล.)ด้วยการสืบสานประเพณีการกวนข้าวอาซูรอ


    การกวนข้าวอาซูรอ (ขนมอาซูรอ) เป็นประเพณีท้องถิ่นของชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ คำว่า อาซูรอ เป็นภาษาอาหรับ แปลว่า การผสม การรวมกัน คือการนำสิ่งของที่รับประทานได้หลายสิ่งหลาย อย่างมากวนรวมกัน มีทั้งชนิดคาวและหวาน การกวนข้าวอาซูรอจะใช้คนในหมู่บ้านมาช่วยกันคนละไม้คนละ มือ เพื่อความสามัคคีและสร้างความพร้อมเพรียงกันในหมู่

ความเป็นมา 

   การกวนขนมอาซูรอ สืบเนื่องมาแต่สมัยนบีนุฮฺ(อล) สมัยนั้นเกิดภาวะน้ำท่วมใหญ่ยังความเสียหายให้แก่ทรัพย์สินไร่นาของประชาชนทั่วไป บรรดาสาวกของนบีนุฮฺ(อล) และคนทั่วไปขาดอาหาร นบีนุฮฺ(อล)จึงประกาศให้ผู้ที่มีสิ่งของเหลือพอจะรับประทานได้ ให้เอามากองรวมกัน เนื่องจากต่างคนต่างมีกันคนละอย่างไม่เหมือนกัน นบีนุฮ(อล)ให้เอาของเหล่านั้นมากวนเข้าด้วยกัน ในที่สุดสาวกของท่านก็ได้รับประทานอาหารทั่วกันและเหมือนกัน ในสมัยนบีมุฮัมมัด(ศ็อลฯ) เหตุการณ์ทำนองเดียวกันนี้เกิดขึ้นอีก ขณะที่กองทหารของท่านกลับจากการรบที่ "บาดัร” ปรากำว่าทหารมีอาหารไม่พอกิน ท่านสมัยนบีมุฮัมมัด(ศ็อลฯ) จึงใช้วิธีการของนบีนุฮฺ(อล) โดยให้ทุกคนเอาข้าวของที่รับประทานได้มากวนเข้าด้วยกันแล้วแบ่งกันรับประทานในหมู่ทหารทั้งปวง ประเพณีดังกล่าวจึงสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

ความสำคัญ

    การกวนข้าวอาซูรอ (ขนมอาซูรอ) เป็นประเพณีท้องถิ่นของชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ คำว่า "อาซูรอ” เป็นภาษาอาหรับ หมายถึงวันที่ ๑๐ ของเดือนมูฮรอม อันเป็นเดือนแรกของปฏิทินอาหรับ ซึ่งเป็นเดือนทางศักราชอิสลาม มีรากศัพท์มาจากภาษาอาหรับ แปลว่า การผสมหรือรวมกัน หมายถึง คือการนำสิ่งของที่รับประทานได้หลายสิ่งหลายอย่างมารวมกัน มีทั้งชนิดคาวและชนิดหวาน การกวนอาซูรอมิได้เป็นพิธีกรรมหรือศาสนกิจที่บังคับให้ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามต้องปฏิบัติ แต่เป็นกิจกรรมที่ปฏิบัติเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต การกวนข้าวอาซูรอจะใช้คนในหมู่บ้านมาช่วยกันคนละไม้คนละมือ เพื่อความสามัคคีและสร้างความพร้อมเพรียงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน อันมีผลต่อการอยู่ร่วมกันของสังคมอย่างมีความสุข ก่อนจะแจกจ่ายให้คนทั่วไปรับประทานกัน

 

พิธีกรรมอาซูรอ

    การกวนข้าวอาซูรอ เริ่มด้วยการที่เจ้าภาพประกาศเชิญชวนนัดหมายให้ชาวบ้านทราบว่า จะมีการกวนข้าวอาซูรอกันที่ไหน เมื่อใด เมื่อถึงกำหนดนัดหมาย ชาวบ้านก็จะนำอาหารดิบ เช่น เผือกมัน ฟักทอง มะละกอ กล้วย ข้าวสาร ถั่ว เป็นต้น มารวมเข้าด้วยกันแล้วปอกหั่น ตัดให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย จากนั้นนำเครื่องปรุง เช่น ข่า ตะไคร้ หอม กระเทียม ผักชี ยี่หร่า เกลือ น้ำตาล กะทิ เป็นต้น มาเป็นเครื่องผสม โดยหั่นตัดให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ เช่นเดียวกัน สำหรับกะทิจะคั้นเฉพาะนำมาผสม ก่อนจะแจกจ่ายอาซูรอให้รับประทานกัน มีพิธีกรรมเชิญบุคคลที่นับถือของขุมชน เช่น อิหม่าม โต๊ะครูหรือบุคคลที่ได้ศึกษาด้านศาสนาขั้นสูงสุดของชุมชน ขึ้นมากล่าวขอพร (ดูอา) ก่อน แล้วจึงแจกจ่ายให้คนทั่วไปรับประทานกัน

วิธีกวนอาซูรอ

๑. นำเมล็ดธัญพืชทั้งหมดมาแช่ไว้ ๑ คืน

๒. ตอนเช้านำธัญพืชที่แช่ไว้มาปั่นให้ละเอียด

๓. หั่นวัตถุดิบทั้งหมดให้เป็นชิ้นเล็กๆ

๔. นำกระทะใบใหญ่ตั้งไฟ มีไม้พายสำหรับกวนขนม หลังจากตั้งกระทะบนเตาแล้วก็คั้นน้ำกะทิและ ใส่น้ำกะทิลงไปตั้งไฟ

๕. ใส่ข้าวสารทั้งหมด พอข้าวสารแตกละเอียดก็ใส่วัตถุดิบที่หั่นเตรียมเอาไว้ลงไปต้มในกระทะและรอจนทุกอย่างเปื่อยละเอียดเป็นเนื้อเดียวกัน ประมาณ ๒-๓ ชั่วโมง ทุกอย่างจะสุกเป็นเนื้อเดียวกัน ระหว่างรอ จะกวนไปเรื่อยๆ เพื่อไม่ให้อาซูรอติดกระทะและสุมไฟให้แรงอยู่ตลอดเวลา

๖. พอใกล้จะสุกก็ใส่น้ำตาลและละลายแป้งกับน้ำใส่ไปแล้วใส่พริกไทยกวนจนเหนียวแห้งประมาณ ๑ ชั่วโมงถึงจะเสร็จ

๗. พอเสร็จได้ที่แล้วก็นำมาเทใส่ภาชนะที่เตรียมไว้เพื่อรอให้เย็น เมื่อเย็นแล้วนำมาตัดเป็นชิ้นพร้อมเสริฟต์

ประโยชน์ของภูมิปัญญา

๑. ใช้เป็นอาหารเหมาะกับการจัดงานต่างๆ แต่ขนมอาซูรอจะนิยมทำในเดือนมูฮัรรอมทางศาสนาอิสลาม

๒. เหมาะกับการจัดงานที่ใหญ่โต เพราะขนมอาซูรอจะทำแต่ละครั้งต้องอาศัยผู้คนมากทำครั้งเดียวแต่รับประทานกันหลายคน

๓. จากการจัดกิจกรรมนี้ (ขนมอาซูรอ) ทำให้ประชาชนในหมู่บ้านเกิดความสมัครสมานสามัคคีขึ้น

ประเพณีการกวนขนมอาซูรอกับความเชื่อ











แหล่งที่มาของข้อมูล
รูปภาพ : https://psu10725.psu.ac.th/web/index.php

ข้อมูลการกวนข้าวอาซูรอ :https://www.m-culture.go.th/phatthalung/ewt_news.php?nid=3303&filename=index







วันอาทิตย์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2564

ผลการเรียนครั้งที่ 15


ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 15

ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์

(Online Learning Management System)

วันที่ 30 กันยายน 2564



          สมาชิกในกลุ่มได้มีการประชุม ทำงานออนไลน์ ผ่าน Google Meet เพื่อเพิ่มเนื้อหาของข้อมูลในส่วนต่าง ๆ ในระบบ https://smp.yru.ac.th/  โดยในครั้งนี้มีการจัดทำแบบทดสอบแบบทดสอบก่อนเรียน (Pretest)  และแบบทดสอบหลังเรียน (Pretest)  ให้ความสมบูรณ์มากขึ้น และสุดท้ายได้มีการพูดคุยบทที่ 5 สรุป และข้อเสนอแนะ บรรณานุกรม ภาคผนวก โดยการแบ่งหน้าที่ทำงานร่วมกัน ซึ่งในการแบ่งคนละ 1 หัวข้อ เพื่อเกิดการทำงานรวดเร็วและอย่างระเบียบ





ผลการเรียนครั้งที่ 14


ผลการเรียนรู้ครั้งที่  14

ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์

(Online Learning Management System)

วันที่ 23 กันยายน 2564



          สมาชิกในกลุ่มได้มีการประชุม และทำงานออนไลน์ ผ่าน Google Meet เพื่อเพิ่มเนื้อหาข้อมูลในส่วนต่าง ๆ ในระบบ https://smp.yru.ac.th/ และแบ่งหหน้าที่ให้แต่ละคน ได้มีการเพิ่มข้อมูลเพิมเติมลงระบบได้อย่างอิสระที่ตัวเองเลือกในหัวข้อตัวเอง โดยแบ่งคนละ 1 หัวข้อ ซึ่งในการเพิ่มเนื้อหาของข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นเพิ่มกิจกรรมหรือแหล่งข้อมูลสามารถ ทั้งที่เป็นข้อมูลเอกสารประกอบการสอน คลิปวีดีโอการสอนเพิ่มเติมในกาเรียนต่าง ๆ รวมทั้งการเพิ่มกิจกรรมประเมินผล เช่น  ใบงานและแบบทดสอบก่อน - หลังเรียน


          3. หลังจากสมาชิกในกลุ่มได้จัดทำระบบอีเลิร์นนิ่ง ในระบบ https://smp.yru.ac.th/ เสร็จสมบูรณ์ ก็จัดทำในรูปเล่มเอกสาร รายงานการศึกษาโครงงาน เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่อง การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล วิชา เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ)  ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3








 


วันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2564

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 13



ผลการเรียนรู้ครั้งที่  13

ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์

(Online Learning Management System)



16 กันยายน 2564    

กิจกรรมการเรียนการสอนมี ดังนี้

1. ให้นักศึกษาทุกคนเข้าห้อง Google Meet เวลา 09.30 น.

2. ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำเสนอ โครงงานบทที่ 2 ทฤษฎีและเอกสารที่เกี่ยวข้องและ บทที่ 3 วิธีการดำเนินการศึกษา

  ซึ่งมีทั้งหมด 7 กลุ่ม นำเสนอตามลำดับ ดังนี้





โดยแต่ละกลุ่มมีหัวข้อนำเสนอ ดังต่อไปนี้      

    กลุ่มที่ 7 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่องประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล วิชา วิทยาการคำนวณ ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3

    กลุ่มที่ 3 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่อง ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทำงานร่วมกันอย่างปลอดภัย วิชา วิทยาการคำนวณ ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6

    กลุ่มที่ 5  เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง รายวิชา การออกแบบและเทคโนโลยี ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4

    กลุ่มที่ 4 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่อง องค์ประกอบหลักการทำงานระบบคอมพิวเตอร์ รายวิชา การออกแบบและเทคโนโลยี ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2

    กลุ่มที่ 1  เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่อง แนวคิดเชิงคำนวณ รายวิชา เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 

    กลุ่มที่ 2 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่งการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี วิชา การออกแบบและเทคโนโลยี ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3

    กลุ่มที่ 6 เรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่อง การเทคโนโลยีอย่างปลอดภัย รายวิชา การออกแบบและเทคโนโลยี ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1


ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 12


 ผลการเรียนรู้ครั้งที่  12

ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์

(Online Learning Management System) 


9 กันยายน 2564 



        สมาชิกในกลุ่มได้มีการประชุม นัดรวมกันทำงานออนไลน์ ผ่าน Google Meet เพื่อเพิ่มข้อมูลในส่วนต่าง ๆ ในระบบ SMP.YRU  โดยมีการแบ่งหหน้าที่ให้แต่ละคนไปหาข้อมูลในส่วนของตัวเอง และเพิ่มข้อมูลลงระบบได้อย่างอิสระ ซึ่งแบ่งให้คนละ 1 หัวข้อ แต่ละคนสามารถเพิ่มข้อมูล ทรัพยากรการเรียนรู้ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น เอกสารประกอบการสอน พาเวอร์พอยต์ หรือคลิปวีดีโอการสอนต่าง ๆ อีกทั้งการเพิ่มกิจกรรมและการประเมินผล ทั้งแบบทดสอบก่อนเรียน แบบทดสอบหลังเรียน และการมอบหมายงานต่าง ๆ เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้มากที่สุด  


        สุดท้ายทุกคนร่วมกันทำพาเวอร์พอยต์เพื่อจะนำเสนอในส่วนของบทที่ 2 เอกสารและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง และบทที่ 3 วิธีการดำเนินการศึกษา ในสัปดาห์ที่จะถึงนี้



วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2564

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 11


 ผลการเรียนรู้ครั้งที่  11

ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์

(Online Learning Management System) 

2 กันยายน 2564



        สมาชิกในกลุ่มได้มีการประชุมนัดรวมกันทำงานออนไลน์ ผ่าน Google Meet เพื่อทำโครงงานต่อในส่วนบทที่ 2 ทฤษฎีและเอกสารที่เกี่ยวข้อง และบทที่ 3 วิธีการดำเนินการศึกษา ให้เสร็จสมบูรณ์พร้อมนำเสนอในสัปดาห์ถัดไป

ซึ่งหัวข้อในบทที่ 2 ทฤษฎีและเอกสารที่เกี่ยวข้อง มีดังต่อไปนี้

        1. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอน

1.1 ความหมายของการเรียนการสอน

1.2 ความหมายของการจัดการเรียนรู้

1.3 ทฤษฎีระบบการเรียนการสอน

2. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ออนไลน์ 

2.1 ระบบการเรียนการสอนออนไลน์

2.2 นวัตกรรมการเรียนรู้ออนไลน์และตัวอย่าง

3. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับระบบอีเลิร์นนิง

3.1 นิยามระบบอีเลิร์นนิง

3.2 รูปแบบอีเลิร์นนิ่ง

3.3 องค์ประกอบการเรียนการสอนแบบอีเลิร์นนิง

3.4 ข้อดีและข้อจํากัดของการเรียนการสอนแบบอีเลิร์นนิง

4.  เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบการเรียนการสอนแบบอีเลิร์นนิง

4.1 การออกแบบการเรียนการสอน

4.2 การออกแบบการเรียนการสอน : ADDIE Model

5. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับหลักการแนวคิดเชิงคำนวณ                                                                                                                                   5.1 แนวคิดเชิงคำนวณ


บทที่ 3 วิธีการดำเนินการศึกษา มีหัวข้อดังต่อไปนี้           

                    1. การวิเคราะห์ (Analysis) 

                    2. การออกแบบ (Design) 

                    3. การพัฒนา (Development) 

                    4. การนําไปใช้ (Implementation) 

                    5. การประเมินผล (Evaluation)  




และมีการแบ่งหน้าเพื่อเพิ่มข้อมูลในส่วนต่าง ๆ ในการพัฒนาระบบ SMP.YRU

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 10

  

ผลการเรียนรู้ครั้งที่  10

ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์

(Online Learning Management System) 

26 สิงหาคม 2564

1. ก่อนเข้าชั้นเรียนอาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละคนเตรียมข้อสอบแบบตัวเลือก จำนวน 5 ข้อ และข้อสอบแบบ ถูก-ผิด จำนวน 5 ข้อ เพื่อทดลองการสร้างข้อสอบในการพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง 



2. ให้นักศึกษาทุกคนเข้าห้อง Google Meet เวลา 9.30 น.



3. อาจารย์เริ่มสอนปฏิบัติโดยการสาธิตในเว็บไซต์ https://smp.yru.ac.th/my/ เพื่อให้นักศึกษาได้ศึกษาเกี่ยวกับการใช้งานและรู้จักเครื่องมือการใช้สำหรับการทำบทเรียนออนไลน์ ในเว็บไซต์ข้างต้น

        การเพิ่มกิจกรรมและแหล่งข้อมูล                                                          การเลือกกิจกรรมการเรียนรู้ ในแต่ละบทเรียน เช่น กระดานเสวนา ใช้ สำหรับกิจกรรมอภิปราย ถาม-ตอบ และกิจกรรมอื่น ๆ เช่น การเลือกรูปแบบเนื้อหาที่จะใช้ในการเรียนรู้แต่ ละบท เช่น แหล่งข้อมูลเป็นลิงก์เว็บไซต์ Book เป็นการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือ Page เป็นการสร้างหน้าเอกสาร ลักษณะเว็บเพจ  


         การสร้างกิจกรรมแบบทดสอบ                                                              การประเมินผลในบทเรียนด้วย แบบทดสอบ เพิ่มเป็นกิจกรรม “แบบทดสอบ” ซึ่งมีรูปแบบของ ข้อสอบ เช่น แบบหลายตัวเลือก แบบถูกผิด แบบจับคู่

         กำหนดรายละเอียดของ แบบทดสอบ และบันทึก จากนั้นขั้นตอนต่อไป จะเป็นการสร้างข้อคำถามและคำตอบ โดยต้องสร้างผ่านคลังข้อสอบ หรือ Question Bank



             การสอนโดยการสาธิตการพัฒนาบทเรียนอีเลอร์นิงในเว็บไซต์ https://smp.yru.ac.th/my/ ในครั้งนี้ เพื่อให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจและสามารถนำไปพัฒนาบทเรียนอีเลอร์นิงของกลุ่มตัวเองให้เสร็จสมบูรณ์

ประเพณีวัฒนธรรม

  การกวนข้าวอาซูรอ(ขนมอาซูรอ) รูปภาพ : พี่น้องมุสลิม 3 จชต.ร่วมต้อนรับฮิจเราะห์ 1440 เพื่อรำลึกถึงนบีนุฮ(อล.)ด้วยการสืบสานประเพณีการกวนข้าว...